ชาผลไม้...บำรุงร่างกาย (สุขกายสบายใจ)

 ชาผลไม้...บำรุงร่างกาย (สุขกายสบายใจ)



        ลองหยิบยืมวัฒนธรรมอันคลาสสิคของชาวเมืองผู้ดีมาใช้ นั่นคือ การจิบชา แต่เราอาจดัดแปลงสูตรชาให้ดีกับสุขภาพมากขึ้น โดยใช้ความหวานธรรมชาติของผลไม้แทนน้ำตาล และเลือกผลไม้ที่มีคุณสมบัติเหมาะในการบำบัดโรค จึงเป็นเรื่องดีที่เราควรหันมาลองทำน้ำชาในสูตรของตัวเองใช้จิบเพื่อบำรุงร่างกายที่ดีกว่าการกินยาปฏิชีวนะ และด้วยวิธีทำชาผลไม้ที่ง่าย ขั้นตอนการเตรียมไม่มาก อาจให้คุณรู้สึกสนุกกับการทำเครื่องดื่มบำรุงร่างกายไว้ดื่มเองในครอบครัว

        สารโพลีฟีนอล และฟลาโวนอยด์ในใบชา ทำให้เราสามารถดื่มได้ทุกวัน  ด้วยคุณสมบัติสารโพลีฟีนอลในใบชา ช่วยป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งและโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ที่คอยดักจับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ไม่มีไขมันอุดตัน ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า สารประกอบเหล่านี้ในชามีประโยชน์ต่อการคงสภาพของเซลล์เนื้อเยื่อ ที่ส่งผลให้ชะลอความแก่ได้



"ชาผลไม้" ทางเลือกใหม่ของคนรักชา 

    ชาผลไม้ (Fruit Tea) เป็นชาที่ดัดแปลงมาจากชารสดั้งเดิม ด้วยการนำผลไม้ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งผลไม้สด ผลไม้แห้ง และน้ำผลไม้มาช่วยเติมแต่งรสชาติที่ได้จากใบชาอยู่แล้ว ให้มีรสชาติถูกปากยิ่งขึ้น ผลไม้ที่นิยมมาทำเป็นชาผลไม้คือ น้ำส้ม และน้ำแอปเปิ้ล เพราะเป็นผลไม้ที่มีน้ำเยอะ เมื่อเติมใส่ในน้ำชาแล้ว รสชาติดั้งเดิมของน้ำชาไม่เพี้ยนไปจากเดิม ที่สำคัญคือ ช่วยดึงรสชาติชาให้มีรสชาติที่เฉพาะตัวยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะนิยมนำผลไม้มาผสมในชาแล้ว ยังสามารถนำเครื่องเทศและสมุนไพรมาทำเป็นชาได้อีกด้วย



Tea-Break กระตุ้นร่างกาย บำบัดโรคพาร์กินสัน 

        ชาผลไม้จะช่วยรักษาโรคได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางการแพทย์ของผลไม้นั้น ๆ ด้วย เช่น ชามะละกอดีต่อผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ด้วยเอนไซม์พาเพนช่วยย่อยโปรตีน เพราะในเซลล์สมองของผู้ป่วยโรคนี้จะสร้างโปรตีนชื่อ อัลฟาซินนิวคริน (Alphasynuclein) ซึ่งสมองของคนปกติจะไม่มีโปรตีนชนิดนี้ ทำให้เซลล์สมองผลิตสารโดพามีน (Dopamine) บกพร่องลงกว่าปกติ แพทย์ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้ผู้ป่วยลดการบริโภคอาหารที่มีโปรตีน และวิธีการรักษาที่สามารถช่วยได้อีกทางหนึ่งก็คือการบริโภคผลไม้ที่มีคุณสมบัติช่วยย่อยโปรตีน หากผู้ป่วยไม่สามารถบริโภคผลไม้สดได้ก็อาจทำเป็นชาผลไม้ชงบำรุงร่างกายได้อีกทางหนึ่ง "โรคพาร์กินสัน" เกิดการที่เซลล์สมองในส่วนที่สร้างโดพามีนบกพร่อง กว่าร้อยละ 80 ในอวัยวะสมอง ซึ่งมีสารโดพามีนทำหน้าที่ควบคุมระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย ดังนั้นหากสมองขาดโดพามีน ร่างกายจึงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ




ได้ความรู้เรื่องชาผลไม้กันมาพอสมควรแล้ว แต่ยังไม่มีร้านชาผลไม้ดีๆ 
ในใจอยากลองให้เปิดใจ ชาผลไม้ Eat All Day All Night !!




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 ร้านเด็ด เด็กบดินทร (สิงหเสนี) ไม่ควรพลาด

How To ดื่มชาในแบบผู้ดีอังกฤษแท้ๆ (ฉบับงานเลี้ยงน้ำชาชนชั้นสูง)

Rice Ceramide คืออะไร